วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559
อาหารไทใหญ่- ข้าวซอยน้อย
ข้าวซอยน้อย
ข้าวซอยน้อยเป็นอาหารประจำถิ่นของอำเภอแม่สาย ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักสักเท่าไหร่ เนื่องจาก

ข้าวซอยน้อยเป็นอาหารประจำถิ่นของอำเภอแม่สาย ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักสักเท่าไหร่ เนื่องจาก
ไม่เป็นนิยมของนักท่องเที่ยว
และร้านที่ทำข้าวซอยน้อยรสชาดดี และน่ากินมีไม่กี่ร้าน
ข้าวซอยน้อย
เป็นอาหารของชาวไทลื้อ ที่นิยมทานกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
เพราะเป็นอาหารที่ทำง่าย เครื่องปรุงต่าง ๆ
ก็หาได้ภายในครัวนั่นเอง
แต่ปัจจุบันจะหากินไม่ค่อยได้แล้ว นอกจากที่อำเภอแม่สายที่เดียว
(อาจจะมีที่จังหวัดอื่น
แต่เท่าที่สอบถามมา ไม่เคยเห็น)
ทำไมถึงเรืยกข้าวซอยน้อย??? สอบถามจากคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่ได้คำตอบที่แน่นอน ป้ออุ๊ย
แม่อุ๊ยบอกว่า เขาก็เรียกกันมาอย่างนี้ตั้งนานนมแล้ว
สันนิษฐานได้ว่าที่เรียกว่าข้าวซอยน้อยเนื่องจาก ไม่ใช่ข้าวซอยใหญ่ !!!
ก็เพราะข้าวซอยใหญ่หมายถึง แผ่นก๋วยเตี๋ยวที่คนไทยภาคกลางนำมาตัดเป็นเส้นราดหน้า
แต่ชนชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน นิยมนำมาหั่นเหมือนกัน
แต่จะหั่นในลักษณะเส้นที่เล็กกว่ามาก (ใหญ่กว่าเส้นขนมจีนนิดหนึ่ง)
นิยมนำเส้นที่ว่านี้มาทำเป็นข้าวซอยน้ำเงี้ยว หรือข้าวซอยน้ำสู่
(ซึ่งจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป) อีกอย่างหนี่งคือกรรมวิธีในการทำข้าวซอยน้อยนั้น
เมื่อนำแป้งไปนึ่งแล้ว
แผ่นก๋วยเตี๋ยวที่ได้จะมีลักษณะเล็ก
และบางกว่าแผ่นก๋วยเตี๋ยวที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
เพราะฉะนั้น อาจจะเรียกเพื่อให้แตกต่างกันเพื่อไม่ให้สับสน
วิธีการทำข้าวซอยน้อย
เนื่องจากร้านขายข้าวซอยน้อยในอำเภอแม่สายมีไม่กี่ร้าน แต่มีร้านหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักชิม
และนักกินทั้งหลายว่ารสชาดสุดยอดแล้ว
นั่นคือร้านข้าวซอยน้อยพี่จั๋นติ๊บ ถ้ำผาจม ซึ่งทางพี่ติ๊บ (ชาวไทลื้อ)
เปิ้นบอกว่าเป็นข้าวซอยน้อยสูตรโบราณขนานแท้ เพราะสูตรการทำได้รับการถ่ายทอดมาถึง 7
ชั่วคนแล้ว
ซึ่งลูกชายพี่ติ๊บก็เป็นรุ่นที่ 8 ปัจจุบันแม่ของพี่ติ๊บก็ยังมาข่วยขายในบางวัน
พี่ติ๊บได้กรุณาเปิดเผยวิธีการทำว่า
เริ่มจากสั่งข้าวจ้าวมาจากเชียงตุง
เพื่อนำมาแช่ และโม่เพื่อให้ได้แป้งที่จะทำข้าวซอยน้อย
ขั้นตอนนี้ต้องอาศัย
ความชำนาญถึงจะทำออกมาให้ได้น้ำแป้งที่ข้นพอเหมาะไม่ข้น
หรือเหลวจนเกินไป เมื่อได้น้ำแป้งมาแล้ว ก็
นำมาปรุงรสด้วยเกลือ ผงชูรส
โรยด้วยต้นหอมซอย เพื่อเพิ่มรสชาดความหอม
จากนั้นนำหม้อต้มใบใหญ่ใส่น้ำครึ่งหม้อ ตั้งไฟแรง ๆ ให้เดือดปุด
ๆเทแป้งที่ปรุงเครื่องแล้วลงในแบบพิมพ์ทรงกลม แล้วนำไปนึ่งในหม้อที่ต้มน้ำไว้
ระยะเวลาในการนึ่งก็แป๊บเดียว ไม่ถึงนาที ก็จะได้แผ่นข้าวซอยน้อยที่ทั้งนุ่มทั้งหอม
เครื่องปรุง
สำหรับเครื่องปรุงของข้าวซอยน้อยมีหลากหลายชนิดได้แก่
1.ถั่วลิสงคั่วบดละเอียด
2.พริกป่นคั่วน้ำนัน
3.พริกแดงสดบดละเอียด
4.พริกแดงสดบดละเอียดคั่วน้ำมัน
5.น้ำตาล
6.ผงชูรส
7.ซีอี้วดำตราเสือ (พี่ติ๊บบอกว่า...ต้องตราเสือถึงจะอร่อย)
8.ผักชีหั่น
9.งาดำคั่วบดละเอียด
10.หอมเจียว
11.มะนาว
วิธีรับประทาน
มีวิธีทานอยู่ 2 แบบคือทานแบบจิ้มน้ำจิ้ม โดยการนำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมกันให้ได้รสชาติ
ที่พอเหมาะแล้วฉีกข้าวน้อยจิ้มเป็นคำ
ๆ ไป
อีกวิธีหนึ่งคือทานโดยการนำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมรวมกันกับเส้นข้าวซอยน้อยที่หั่นเป็นแผ่น
และมีผักกระหล่ำสดเป็นส่วนผสม โรยด้วยผักชีหั่น ทั้งสองวิธีก็จะได้รสชาติ
ที่คล้าย ๆ
กัน
อาหารไทใหญ่-ข้าวแรมฟืน
ข้าวแรมฟืน
1.น้ำถั่วเน่า (ถั่วเหลืองหมัก) ได้จากการนำถั่วเหลืองที่โขลกละเอียดแล้วผสมน้ำต้มสุก
2.น้ำขิง ทำมาจากการโขลกขิงผสมกับน้ำต้มสุก
3.กระเทียมเจียวน้ำมัน
4.ถั่วลิสงป่น
5.เกลือป่น
6.น้ำมะเขือเทศ
7.งาขาวป่น
8.ผงชูรส
9.ซีอิ้วดำ
10.ป่าก่อ (เครื่องเทศชนิดหนึ่ง รสหวาน กลิ่นหอม) น้ำสู่ และน้ำมะเขือเทศ
น้ำสู่เป็นเหมือนกับน้ำซุปที่ใส่ลงไปในข้าวฟืนที่หั่นเตรียมไว้ น้ำสู่แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือสู่ส้ม สู่หวาน
เป็นได้ทั้งอาหารคาวและหวาน แต่ทุกอย่างเป็นมังสะวิรัต เป็นอาหารเจ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ
และไทเขิน นำเข้ามาจากทางสิบสองปันนาประเทศจีน ผ่านมาทางพม่า แล้วเข้ามามาง อ.แม่สาย
จ.เชียงราย
เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นอาหารของชาวแม่สายไปแล้ว คำว่า
"ข้าวแรมฟืน" คงเพี้ยนมาจาก ข้าวแรมคืน ซึ่งชื่อนี้ก็คงมาจากวิธีการทำนั่นเอง
มีขั้นตอนดังนี้
กรรมวิธีในการทำข้าวแรมฟืน ซึ่งก็มีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 อย่าง คือตัวแป้งข้าวแรมฟืน
และเครื่องปรุง
ซึ่งอาหารชนิดนี้สังเกตดูองค์ประกอบคงจะมีลักษณะคล้าย ๆ
ก๋วยเตี๋ยวของชาวจีนนั่นเอง
ตัวข้าวแรมฟืนเติมมี 2 ชนิด คือข้าวแรมฟืนขาว และข้าวแรมฟืนถั่วลันเตา ปัจจุบันได้เพิ่มข้าวแรมฟืนถั่วดิน (ถั่วลิสง) เข้ามาด้วย ข้าวแรมฟืนขาวทำจากการโม่ข้าวเจ้าแข็งทำแป้ง แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนมาเคี่ยวกับปูนขาวจนสุก จากนั้นเทใส่ภาชนะใดก็ได้ ทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นแป้งจะแข็งตัว ตามรูปภาชนะที่บรรจุ
ส่วนข้าวแรมฟืนถั่วนั้นจะมีสีเหลือง ซึ่งทำจากเม็ดทั่วลันเตาแช๋จนเม็ดขยายแล้วจึงนำมาโม่ จากนั้นนำตะกอนส่วนหนึ่งมาเคี่ยวจนเดือด สังเกตดูว่าตะกอนเริ่มเหนียวจึงเทใส่ภาชนะแต่ไม่นิยมทำค้างคืนหรือแรมคืน เพราะหากทิ้งไว้นาน แป้งนี้จะเหลว ไม่จับตัวแข็งเหมือนข้าวแรมฟืนขาว เมื่อได้แป้งข้าวแรมฟืนแล้ว ก็นำมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ เตรียมไว้ เครื่องปรุงข้าวแรมฟืน
ตัวข้าวแรมฟืนเติมมี 2 ชนิด คือข้าวแรมฟืนขาว และข้าวแรมฟืนถั่วลันเตา ปัจจุบันได้เพิ่มข้าวแรมฟืนถั่วดิน (ถั่วลิสง) เข้ามาด้วย ข้าวแรมฟืนขาวทำจากการโม่ข้าวเจ้าแข็งทำแป้ง แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนมาเคี่ยวกับปูนขาวจนสุก จากนั้นเทใส่ภาชนะใดก็ได้ ทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นแป้งจะแข็งตัว ตามรูปภาชนะที่บรรจุ
ส่วนข้าวแรมฟืนถั่วนั้นจะมีสีเหลือง ซึ่งทำจากเม็ดทั่วลันเตาแช๋จนเม็ดขยายแล้วจึงนำมาโม่ จากนั้นนำตะกอนส่วนหนึ่งมาเคี่ยวจนเดือด สังเกตดูว่าตะกอนเริ่มเหนียวจึงเทใส่ภาชนะแต่ไม่นิยมทำค้างคืนหรือแรมคืน เพราะหากทิ้งไว้นาน แป้งนี้จะเหลว ไม่จับตัวแข็งเหมือนข้าวแรมฟืนขาว เมื่อได้แป้งข้าวแรมฟืนแล้ว ก็นำมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ เตรียมไว้ เครื่องปรุงข้าวแรมฟืน
1.น้ำถั่วเน่า (ถั่วเหลืองหมัก) ได้จากการนำถั่วเหลืองที่โขลกละเอียดแล้วผสมน้ำต้มสุก
2.น้ำขิง ทำมาจากการโขลกขิงผสมกับน้ำต้มสุก
3.กระเทียมเจียวน้ำมัน
4.ถั่วลิสงป่น
5.เกลือป่น
6.น้ำมะเขือเทศ
7.งาขาวป่น
8.ผงชูรส
9.ซีอิ้วดำ
10.ป่าก่อ (เครื่องเทศชนิดหนึ่ง รสหวาน กลิ่นหอม) น้ำสู่ และน้ำมะเขือเทศ
น้ำสู่เป็นเหมือนกับน้ำซุปที่ใส่ลงไปในข้าวฟืนที่หั่นเตรียมไว้ น้ำสู่แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือสู่ส้ม สู่หวาน
ได้จากการนำน้ำตาลก้อน (ต้องเป็นน้ำตาลที่มาจากเชียงตุง) มาหมักประมาณ 2 ปี จนได้รสเปรี้ยว สู่หวานก็ได้จากการหมักเหมือนกัน แต่หมักไม่นานเท่า วิธีปรุง
นำเครื่องปรุงผสมข้าวฟืนที่หั่นเตรียมไว้ ผสมน้ำสู่ส้ม หรือสู่หวาน หรือทั้งสองอย่างก็ได้ บางคนชอบกินกับน้ำมะเขือเทศ โรยหน้าด้วย ถั่วงอกลวก กุ๊ยฉ่าย ถั่วผักยาวลวก แค่นี้ก็พร้อมเสริฟแล้วครับ
รสชาดโดยทั่วไปของข้าวฟืนจะออกรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เป็นอาหารที่ไม่ต้องอุ่นน้ำซุป หรือน้ำมะเขือส้ม น้ำสู่ที่จะราดลงไปก็จะบรรจุไว้ในขวดแก้วธรรมดา น้ำมะเขือเทศนิยมใส่ขวดโหลไว้ในปริมาณเยอะ ๆ เพื่อสะดวกในการตักราด ร้านขายข้าวฟืนที่แม่สายมีให้เห็นโดยทั่วไปทุกซอกทุกซอย เพราะเป็นอาหารที่ปรุงง่าย ๆ รับประทานง่าย ๆ ไม่มีพิธีรีตอง หิวเมื่อไหร่ก็เดินเข้าไปในซอย นั่งยอง ๆ ลงบนม้านั่งตัวเล็ก ๆ สักพักก็จะมีแม่ค้านำถ้วยข้าวฟืนที่หอมกลิ่นถั่วเน่ามาเสริฟให้ เราก็จัดการปรุงเครื่องปรุงตามใจชอบ ถ้าไม่ถนัดในการปรุงเพราะไม่รู้จะใส่อันไหนบ้าง ก็ให้แม่ค้าเค้าปรุงให้ก็ได้ สำหรับร้านที่เป็นที่นิยมของชาวอ.แม่สายและนักท่องเที่ยวก็คือร้านข้าวฟืนป้านาง (ที่เดียวกับข้าวซอยป้านาง) ขายอยู่บ้านป่ายาง หน้าหมู่บ้านเพชรยนต์ แต่ก่อนขายอยู่ใต้โรงหนังเก่าแม่สาย
นำเครื่องปรุงผสมข้าวฟืนที่หั่นเตรียมไว้ ผสมน้ำสู่ส้ม หรือสู่หวาน หรือทั้งสองอย่างก็ได้ บางคนชอบกินกับน้ำมะเขือเทศ โรยหน้าด้วย ถั่วงอกลวก กุ๊ยฉ่าย ถั่วผักยาวลวก แค่นี้ก็พร้อมเสริฟแล้วครับ
รสชาดโดยทั่วไปของข้าวฟืนจะออกรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เป็นอาหารที่ไม่ต้องอุ่นน้ำซุป หรือน้ำมะเขือส้ม น้ำสู่ที่จะราดลงไปก็จะบรรจุไว้ในขวดแก้วธรรมดา น้ำมะเขือเทศนิยมใส่ขวดโหลไว้ในปริมาณเยอะ ๆ เพื่อสะดวกในการตักราด ร้านขายข้าวฟืนที่แม่สายมีให้เห็นโดยทั่วไปทุกซอกทุกซอย เพราะเป็นอาหารที่ปรุงง่าย ๆ รับประทานง่าย ๆ ไม่มีพิธีรีตอง หิวเมื่อไหร่ก็เดินเข้าไปในซอย นั่งยอง ๆ ลงบนม้านั่งตัวเล็ก ๆ สักพักก็จะมีแม่ค้านำถ้วยข้าวฟืนที่หอมกลิ่นถั่วเน่ามาเสริฟให้ เราก็จัดการปรุงเครื่องปรุงตามใจชอบ ถ้าไม่ถนัดในการปรุงเพราะไม่รู้จะใส่อันไหนบ้าง ก็ให้แม่ค้าเค้าปรุงให้ก็ได้ สำหรับร้านที่เป็นที่นิยมของชาวอ.แม่สายและนักท่องเที่ยวก็คือร้านข้าวฟืนป้านาง (ที่เดียวกับข้าวซอยป้านาง) ขายอยู่บ้านป่ายาง หน้าหมู่บ้านเพชรยนต์ แต่ก่อนขายอยู่ใต้โรงหนังเก่าแม่สาย
เขาขายมานานมากแล้ว ไม่ต่ำกว่า 20 ปี นอกจากข้าวซอยน้ำเงี้ยว ข้าวฟืนแล้ว ก็ยังขายข้าวฟืนทอด
คือข้าวฟืนถั่วนั่นแหละ แต่นำไปทอด จิ้มกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษ ทานเป็นของว่างได้อร่อยมาก
อาหารไทใหญ่-เมนูข่างปองหรือมะละกอทอด
เมนูข่างปองหรือมะละกอทอด
มะละกอ
1
กิโลกรัม
แป้งข้าวจ้าว
1
ถุง
แป้งข้าวเหนียว 1/4
ถุง
ขมิ้นผง
1
ช้อนชา
ไข่ไก่
5
ฟอง
พริกป่นแห้ง
2
ช้อนชา
เกลือ
1
ช้อนโต๊ะ
หอมแดง
5
หัว
น้ำมันพืช
1
ลิตร
น้ำเปล่า
1
ถ้วย
วิธีทำ
1. ปอกมะละกอ
ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นพองามหรือหั่นเป็นฝอยก็ได้
2. โขลกเครื่องปรุงทั้งหมดให้ละเอียด
แล้วนำมาคลุกกับมะละกอที่หั่นไว้พร้อมกับเติมน้ำเปล่าผสม
3. นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมันพืช
เมื่อร้อนแล้วนำมะละกอที่คลุกลงทอดให้สุกกรอบ นำรับประทานกับน้ำจิ้ม
สูตรน้ำจิ้มข่างปอง
เครื่องปรุง
น้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียก
5
ช้อนโต๊ะ
หอมแดง
18
หัว
ผักชีหั่น
1/2
ถ้วย
พริกสด
7
เม็ด
กระเทียม
3
หัว
น้ำตาลทราย
1
ช้อนชา
ตะไคร้
5
หัว
น้ำเปล่า
1
ถ้วย
วิธีทำน้ำจิ้ม
หั่นตะไคร้
หอมแดงและพริกสดบางๆ นำส่วนผสมต่างๆรวมกันแล้วเติมน้ำเปล่า ปรุงรส
ได้ที่แล้วโรยหน้าด้วยผักชี
อาหารไทใหญ่-ไข่อุ๊บกับข่างปอง
ไข่อุ๊บกับข่างปอง
เช่น พริก
หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ฯลฯ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือถั่วเน่าหรือถั่วเหลืองแผ่น
ซึ่งใช้แทนกะปิ วิธีการปรุงอาหารไม่สลับซับซ้อน
เช่น แกง ยำ
ทอด อบหรืออุ๊บ “อุ๊บ”คือการนำ
ส่วนผสมต่างๆมาใส่รวมกันแล้วนำไปตั้งบนไฟจนสุกและนำมารับประทาน ในที่นี้ขอแนะนำไข่อุ๊บ
และข่างปอง
เมนูเด็ดของชาวไทใหญ่แม่ฮ่องสอน
เมนูไข่อุ๊บ
เครื่องปรุง
ไข่ไก่ต้มสุกแกะเปลือกออก
10
ฟอง
หอมแดง
250 กรัม
พริกแห้งเม็ดใหญ่
5
เม็ด
ถั่วเน่า
1
แผ่น
ขมิ้นผง
1
ช้อนชา
มะเขือเทศ
300 กรัม
น้ำมันพืช 1/2
ถ้วยตวง
ผักชี
1
ขีด
วิธีทำ
1. นำไข่ต้มผ่าครึ่งซีก
2. ย่างถั่วเน่าแผ่นให้เหลือง
3. พริกแห้งแกะเมล็ดออกแช่น้ำร้อน
4. หั่นมะเขือเทศเป็นชิ้นเล็กๆ
5. นำถั่งเน่าแผ่นที่ย่าง
หอมแดง พริกแห้งแกะเมล็ด มะเขือเทศหั่นและขมิ้นผงมาโขลกรวมกัน
6. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช
พอน้ำมันร้อนได้ที่ นำเครื่องปรุงที่โขลกไว้ทั้งหมดลงผัดจนมีกลิ่นหอม
คนให้เข้ากัน แล้วจึงนำไข่ที่ผ่าซีกจัดเรียงในกระทะ
พลิกกลับไปมาจนเครื่องแกงเข้ากันดี รอจนน้ำแห้งตักใส่จานโรยผักชี
ก็จะได่เมนูไข่อุ๊บที่อร่อยน่ารับประทาน
อาหารไทใหญ่-ชื่อวิธีทำอาหารไทใหญ่
ชื่อวิธีทำอาหารไทใหญ่
-ตั้ง -ต้ม -หุง -แกง -จอ
-อุ้บ -ออบ -แอบ -อุ่น -อ่อง
-น๊อก -แจ้ -ต๋ำ -ห่ำ -ปุน
-ตุง -ตุ๋ง -ขื่อ -เค็ว -นึ่ง
-หมก -จ๊อก -หลาม -เผา -ปี่
-จี่ -แฮง -คั่ว -ยำ -ลู
-โก(คลุก) -มึบ -ดอง -หมัก -แย่น
-เต๊ก -หมบ

-ตั้ง -ต้ม -หุง -แกง -จอ
-อุ้บ -ออบ -แอบ -อุ่น -อ่อง
-น๊อก -แจ้ -ต๋ำ -ห่ำ -ปุน
-ตุง -ตุ๋ง -ขื่อ -เค็ว -นึ่ง
-หมก -จ๊อก -หลาม -เผา -ปี่
-จี่ -แฮง -คั่ว -ยำ -ลู
-โก(คลุก) -มึบ -ดอง -หมัก -แย่น
-เต๊ก -หมบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)